งานทำสีรถยนต์ Honda New Jazz สีน้ำเงิน จาก ศูนย์บริการซ่อมสีรถ TS Motor
งานซ่อมสีชิ้นส่วน Honda New Jazz สีน้ำเงิน ผลงานจาก TS Motor Honda Jazz 2012: Front Bumper and body kits Paint and repairs
ขั้นตอนการเตรียมพื้นผิวชิ้นงานอย่างคร่าวๆ
- Surface wash car and wipe down with wax grease remover.
- ล้างทำความสะอาดรถยนต์ ล้างคราบแว็กซ์ออกด้วยน้ำยาลบคราบ
- Rough it up / bare metal with 80-180 grit (paint isn?t pealing).
- เตรียมพื้นผิวด้วยกระดาษทรายหยาบเพื่อทำการลบสีเก่าออก ใช้กระดาษทรายแห้งเบอร์ 80 ? 180
- Body work / filler / glaze compound until straight
- ทำการโป้วสีบริเวณบาดแผลด้วยสีโป้ว 2k แห้งช้า รอชิ้นงานแห้ง หรืออาจใช้ UV Light แบบ Short wave เพื่อเร่งปฏิกิริยา เมื่อสีโป้วแห้ง จะทำการขัดสีโป้วออกด้วยกระดาษทรายแห้งละเอียดปานกลาง 180-320
- Wipe down with wax grease remover / wipe with tack cloth
- เช็ดคราบสกปรกและน้ำมันโป้วออกด้วยน้ำยาเช็ดคราบ
- Epoxy primer High build primer / build dust guide coat
- พ่นสีรองพื้น แห้งช้า EPOXY บริเวณบาดแผลหรือทั้งชิ้น แล้วแต่กรณี
- Block / wet sand
- ใช้เครื่องขัดกระดาษทรายแห้งเบอร์ละเอียด 400 ขัดเก็บงาน และใช้กระดาษทรายน้ำ ไล่งานอีกเล็กน้อยเพื่อความละเอียด
- Wipe down with wax grease remover / wipe with tack cloth
- ใช้น้ำยาเช็ดคราบอีกครั้งในการทำความสะอาดพื้นผิวชิ้นงาน ติดกระดาษเตรียมพ่นสี
ประกันภัยในสัญญา กับ ศูนย์ทำสีรถยนต์ TS MOTOR
นอกเหนือจากที่เราเป็นศูนย์บริการ เกรดซ่อมห้าง ให้กับประกันภัย หลายๆบริษัทแล้วนั้น เราก็ยังเป็นนายหน้าประกันภัยตรง และมีเครือข่ายนายหน้าชั้นนำในประเทศไทย ที่จะสามารถอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบเบี้ยประกันภัยให้ท่านได้ โดยท่านสามารถคลิ๊กที่ “ตรวจสอบเบี้ยประกันภัย” ของประกันภัยที่อยู่ใน List ของเรา
ประกันภัยที่สามารถเคลมได้กับ ที เอส มอเตอร์ ประกันเกรดซ่อมห้าง?(อ่านความแตกต่างระหว่างประกันซ่อมห้างและอู่ทั่วไป คลิ๊ก)
- กรุงเทพประกันภัย (ประกันเกรดซ่อมห้าง)
- ประกันคุ้มภัย(ประกันเกรดซ่อมห้าง)
- AXA ประกันภัย(ประกันเกรดซ่อมห้าง)
- อาคเนย์ประกันภัย(ประกันเกรดซ่อมห้าง)
- โตเกียวมารีน ศรีเมืองประกันภัย(ประกันเกรดซ่อมห้าง)
- ทิพยประกันภัย(ประกันเกรดซ่อมห้าง)
- LMG ประกันภัย(ประกันเกรดซ่อมห้าง)
- มิตซุย ซูมิโตโม ประกันภัย(ประกันเกรดซ่อมห้าง)
- ประกันภัยไทยวิวัฒน์(ประกันเกรดซ่อมห้าง)
- ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย(ประกันเกรดซ่อมห้าง)
- ไอโออิ กรุงเทพ ประกันภัย(ประกันเกรดซ่อมห้าง)
- เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย(ประกันเกรดซ่อมห้าง)
- มิตรแท้ประกันภัย(ประกันเกรดซ่อมห้าง)
- ธนชาตประกันภัย(ประกันเกรดซ่อมห้าง)
- เอเซียประกันภัย(ประกันเกรดซ่อมห้าง)
- เทเวศประกันภัย (ประกันเกรดซ่อมห้าง)
Q&A คำถามที่ถามบ่อยกับการเคลมประกัน
เอกสารที่ต้องใช้ในการเคลมประกันภัยมีอะไรบ้าง
- กรมธรรม์ประกันภัย
- สำเนาทะเบียนรถ
- บัตรประชาชนและใบขับขี่ของผู้ขับขี่
- ใบเคลม (ในกรณีที่อู่ไม่อยู่ในสัญญากับบริษัทประกันภัย)
เหตุการณ์ใดที่เคลมแล้วจะเจอค่าเสียหายส่วนแรก/ ค่าเสียหายส่วนร่วม (EXCESS)
- หลักๆเลยคือเหตุการณ์ที่โดนหินกระเด็นใส่ หรือการชนกับวัตถุที่ไม่ยึดอย่างถาวรกับที่ เหตุการณ์ที่พบได้บ่อยคือ การเฉี่ยวกิ่งไม้ เฉี่ยวรั้วลวดหนาม หรือการชนกองวัสดุ โดยทางบริษัทประกัน จะพิจารณาจากบาดแผลอีกที
- นอกจากค่าเสียหายส่วนแรกแล้วยังมีค่าเสียหายส่วนร่วม นั่นคือ ในกรณีที่ลูกค้าทำการเคลมประกันจำนวนหลายชิ้น ทางประกันก็จะเรียกเก็บค่าเสียหายส่วนร่วมจ่ายกับประกัน ที่เราเรียกกันว่าค่า EXCESS ทั้งนี้ การพิจารณาค่า EXCESS จะขึ้นตรงกับทางบริษัทประกันภัย
- การเคลมที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในกรณีไม่มีระบุค่าเสียหายส่วนแรกไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย คือการเคลมที่มีบาดแผลชัดเจน การครูด ชนกับคู่กรณีที่มีการเรียกประกันภัยไปที่เกิดเหตุ
- กรณีการชนกับคู่กรณีที่หนีไปแล้วไม่สามารถทราบทะเบียนรถได้จะโดนค่าเสียหายส่วนแรกด้วยเช่นกัน
การลอกสีจำเป็นหรือไม่?
- ต้องเรียนว่า จำเป็นในบางกรณี ในกรณีที่ลอกสี จะเกิดขึ้นเมื่อ เคยซ่อมสีตัวถังมาหลายครั้ง, สีหนา สีแตก สีพองตัว เนื่องจากการซ่อมไม่ได้มาตรฐาน, การใช้โป้วแห้งเร็ว(หรือโป้วแดง) ไม่ใช่การทำสีที่ดีจะต้องลอกสีเก่าออก เนื่องจากการซ่อมโดยการลอกสีเก่าออก จะมีการสูญเสีย EDP หรือสีรองพื้นกันสนิมจากโรงงานรถยนต์ที่ทำมา อีกทั้งการลอกสี จะต้องมีการโป้วจับรอยใหม่ทั้งหมด ซึ่งถ้ารถของท่านไม่เคยทำสี หรือเคยทำสีมาเล็กๆน้อยๆ การลอกสีต้องเรียนว่ายังไม่จำเป็น
ถ้าเราไม่ลอกสี เราต้องทำอย่างไร?
- เทคโนโลยีการซ่อมได้พัฒนาไปจนมีเครื่องมือช่วยช่างในการทำงานที่ได้ความเร็วและประสิทธิภาพสูงกว่าในอดีต ปัจจุบันอู่ที่ได้มาตรฐาน จำต้องมีเครื่องขัดแห้ง ซึ่งจะใช้ในการฝนแลกเกอร์ และสีเก่าออกทีละน้อยและการขัดลอกสีนั้น จะหยุดเมื่อถึงพื้น EDP โดยตัวรถยังรักษาคุณภาพของพื้นกันสนิมได้อยู่ และรถไม่ช้ำ
การดูแลรักษารถยนต์หลังการทำสี
- ถ้าท่านทำสี 2K แห้งช้าเต็มระบบจริงๆ การแห้งของแลกเกอร์ หรือ Clear Coat จะไม่แห้งสนิทเมื่อท่านรับรถของท่านไป ณ วันที่รับรถ ฟิล์มของแลกเกอร์จะสร้างความแข็งขึ้นมาเพื่อให้ท่านสามารถใช้งานรถยนต์ของท่านได้ แต่ภายใต้ฟิล์มแข็งของแลกเกอร์ จะไม่แห้งสนิท 100% และการแห้งตัวสนิทจะใช้เวลาอย่างน้อย 2 – 4 อาทิตย์ตามสภาพอากาศ เหตุนี้ การดูแลรักษารถยนต์หลังการทำสี ไม่ควรที่จะใช้น้ำแรงดันสูงในการฉีดอัด หรือการจี้น้ำแรงๆเข้าในช่วงรอยต่อระหว่างชิ้นงานที่ทำสีไป เนื่องจากการ Synchronize หรือการยึดติดยังไม่ 100% จึงควรโปรยน้ำเบาๆเวลาล้างรถ
เมื่อทำสีเสร็จ ควรนำรถไปขัดเคลือบหรือไม่?
- เมื่อซ่อมสีเสร็จ จากคำถามด้านบนนะครับ ท่านสามารถนำรถไปขัดเคลือบได้ แต่การเคลือบสีจะเหมือนการปิดบังการหายใจของแลกเกอร์ ซึ่งอาจจะส่งผลให้การแห้งตัวของสีช้าลงครับ
เค้าว่ากันว่า สีโรงงานดีที่สุด?
- คำตอบคือ ถูกต้องครับ สีโรงงานผลิตรถยนต์ที่ผลิตออกมามีคุณภาพของสีรถที่ดี เนื่องจากกรรมวิธีการผลิตที่ซับซ้อน การอบที่อุณภูมิสูง หรือสี BAKE ซึ่งการซ่อมไม่สามารถลงทุนถึงขนาดโรงงานผลิตรถยนต์แบบนั้นได้
แล้วควรซ่อมสีหรือไม่ละ? ในเมื่อสีโรงงานดีที่สุด?
คำถามนี้เป็นคำถามที่ผู้บริโภคจะต้องคิดให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจทำสีรถนะครับ เนื่องจากว่า เทคโนโลยีของสี 2k ก็ได้รับการพัฒนาไปไกลเช่นเดียวกัน ระบบสี 2k ที่ได้คุณภาพนั้น ได้ให้การรับประกันตลอดอายุการใช้งานแล้วครับ ประเด็นคือว่า การรับประกันเช่นนั้น ประเทศที่ผลิตสีเป็นเมืองหนาวซะส่วนใหญ่ ในสภาวะเมืองร้อนอย่างประเทศไทย อาจส่งผลให้การเสื่อมสภาพของสีมีมากขึ้น ถ้าท่านโอเคกับรถที่บุบ เป็นรอย ท่านสามารถเลือกที่จะไม่ทำสี และอยู่กับรถยนต์ในสภาพนั้นก็ได้ กรณีที่มีการเฉี่ยวชนจนสีถึงเนื้อเหล็ก ก็อาจจะมีความเสี่ยงในการขึ้นสนิม ผมจึงสรุปได้ว่า การซ่อมสีรถยนต์มันมากับความจำเป็นนะครับ และการเลือกอู่ซ่อมที่มีระบบสีที่ได้คุณภาพน่าจะเป็นทางออกที่ดีมากกว่าปล่อยให้รถของท่านเป็นรอย ตรงนี้แอบโฆษณานิดนึงว่า ทาง ที เอส มอเตอร์ เรารับประกันงาน 1 ปีเต็ม รับประกันความเงา และสีซีดจาง 3 ปีเต็มครับ