ในการนำรถเข้าซ่อมจะมีร้านแยกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ร้านตัวแทน (ดีลเล่อร์) กับอู่ทั่วไป ร้านตัวแทนจะชาร์จค่าแรงเพิ่มประมาณ 400-500 บาทต่อ ชม. ส่วนอู่ทั่วไปชาร์จค่าแรงเพิ่มประมาณ 100-200 บาทต่อ ชม. แต่ละประเภทก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน บทความผมขอพูดถึงความแตกต่างระหว่างร้านตัวแทน (ดีลเล่อร์) และ บริการหลังการขาย..
ร้านตัวแทน (ดีลเล่อร์)
ร้านประเภทนี้จุดแข็งอยู่ที่ช่างครับ ช่างจะมีความรู้ความชำนาญโดยได้รับการอบรมมาจากโรงงานและสามารถซ่อมรถที่เป็นรุ่นจำเพาะได้ ช่างเหล่านี้จะอยู่ระหว่างการอบรมเพิ่มเติมไม่เพียงแต่เฉพาะด้านเทคนิคนะครับ แต่ยังได้รับการอบรมในด้านอื่นๆ เพื่อเป็นผู้จัดการดูแลลูกค้าและฝ่ายสนับสนุนการบริการในอนาคตด้วย .. สถานประกอบการรถยนต์จะจัดการอบรมให้ร้านตัวแทนประเภทนี้เท่านั้น
ร้านตัวแทนจะเสียค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ เพื่อให้ช่างของเขามีความรู้และมีการพัฒนาทั้งด้านเทคนิคการบริการและทักษะการซ่อม การฝึกอบรมที่ดีและประสบการณ์ของช่างเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับร้านตัวแทนประเภทนี้มากครับ เพราะลูกค้าจะมีความเชื่อมั่น?และเพื่อให้ช่างเหล่านั้นอยู่กับร้านตัวแทนนานๆ แน่นอนครับร้านจะจ่ายเงินเดือนค่อนข้างสูงทีเดียว อีกทั้งผลประโยชน์อื่นๆ ก็ดีด้วยเช่นกันเพียงเพื่อรักษาช่างเก่งๆ เหล่านั้นไว้ มิหนำซ้ำยังเป็นสิ่งที่ล่อตาล่อใจช่างใหม่ๆ ได้อีกด้วย ดังนั้น ลูกค้าจึงต้องจ่ายค่าแรงรายชั่วโมงสูงขึ้นนั่นเองครับ
ข้อดีอีกอย่างของการนำรถเข้าร้านตัวแทนก็คือรับรองว่าจะมีอะไหล่หรืออุปกรณ์แน่นอน เพราะโรงงานจะป้อนสินค้าให้แก่ร้านตัวแทนเพื่อจะได้มีสินค้าเพียงพอ นั่นหมายความว่าร้านแบบนี้ก็ต้องมีเงินสดจ่ายเพื่อสั่งซื้ออุปกรณ์เหล่านั้นทั้งนี้ก็เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า?นอกจากนี้ ร้านตัวแทนเท่านั้นที่จะมีเครื่องมือพิเศษจากโรงงานเพื่อเพิ่มคุณภาพในการให้บริการแก่ลูกค้า
ดังนั้น เมื่อคุณนำรถเข้าร้านตัวแทน ไม่ว่ารถจะเล็กหรือใหญ่ก็ไม่ต้องกังวลครับเพราะโดยทั่วไปแล้วร้านตัวแทนจะมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ใหญ่โตพอที่จะแก้ปัญหาของลูกค้าได้ การบริการที่ครอบคลุมนี้ก็เพื่อที่จะได้บริการลูกค้าได้อย่างทั่วถึง
อีกอย่างหนึ่งที่ผมขอกล่าวถึงคือร้านตัวแทนจะมีชื่อเสียงที่น่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับจากโรงงานผู้ผลิตมากกว่า เป็นที่รู้กันว่าเจ้าของร้านตัวแทนจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายสูงพอสมควรเพื่อให้ได้เครื่องหมายของโรงงานผู้ผลิตมาเป็นชื่อของร้านตัวแทนนั้นๆ หน้าที่รับผิดชอบของตัวแทนของโรงงานผู้ผลิตก็คือเข้าประชุมกับร้านตัวแทนเพื่อไปสู่การบริการลูกค้าตามมาตรฐานที่วางไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าร้านตัวแทนเหล่านั้นจะปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเหมาะสม
ในฐานะที่เป็นร้านตัวแทนของโรงงานผู้ผลิต คุณสามารถนำรถที่อยู่ในช่วงเวลาประกันเข้าซ่อมได้ทั่วทุกสาขาที่มี หากเกิดปัญหาอะไร ร้านตัวแทนอื่นๆ สามารถรองรับความต้องการของคุณได้ตราบใดที่ยังไม่หมดประกันครับ ร้านตัวแทนยังสามารถต่ออายุประกันให้คุณได้ไม่ว่าจะเป็นรถเก่าหรือใหม่ก็ตาม โดยโรงงานผู้ผลิตจะรองรับจุดนี้เช่นกัน ที่กล่าวมาจะเห็นว่าสะดวกสบายกว่าหากรถยังอยู่ในระยะประกันอยู่เพราะตัวแทนเหล่านี้ยินดีจะให้บริการแก่คุณเสมอครับ
ดีลเลอร์เท่านั้นที่มีสิทธิ์จะได้รับเครื่องหมาย อะไหล่แท้ หรือ O.E. (Original Equipment) เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในคุณภาพสินค้า ร้านตัวแทนส่วนใหญ่จะดูแลอะไหล่รถและฟรีค่าแรงและซ่อมที่หนึ่งปีถึงสามปีแรก หรือ ฟรีตามระยะไมล์ที่ได้จัดโปรโมชั่นให้ลูกค้า นอกจากนั้น ร้านตัวแทนส่วนมากจะประกันทั้งอะไหล่และค่าแรงติดตั้งด้วย
ที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งมวลนี้ เป็นคำตอบที่ว่าทำไมคุณต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่านำรถเข้าอู่ทั่วไป และยังเป็นการรับประกันว่าแม้จะหมดระยะประกันแล้วก็ไม่ต้องนำรถไปซ่อมซ้ำอีกครั้ง คำถามอีกข้อหนึ่งของคนที่นำรถไปซ่อมอู่ทั่วไปคือจะมั่นใจได้หรือว่าอู่เหล่านั้นนำอะไหล่ที่มีประสิทธิภาพมาใช้กับรถคุณและได้รับการประกันด้วยหรือไม่ คนส่วนใหญ่ที่นำรถเข้าซ่อมในอู่ทั่วไปจะไม่ได้รับสิทธิตรงนี้ แต่ว่าก็นานาจิตตังนะครับ แม้ว่าการนำรถไปซ่อมที่ร้านตัวแทนจะมีความเป็นกันเองน้อย แต่การนำรถเข้าซ่อมที่อู่ทั่วไปก็มีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าเช่นกัน