ว่าด้วยเรื่องล้อ
จำนวนดุมล้อ
คนส่วนใหญ่ยอมจ่ายเงินเพื่อล้ออัลลอยด์ ซึ่งมีจำนวนดุมล้อที่ไม่เหมาสม
ระยะห่างระหว่างน็อตล้อแต่ละตัว
หากทราบแล้วว่าต้องการจำนวนดุมล้อเท่าใดก็ควรทราบด้วยว่าระยะห่างระหว่างน็อตล้อแต่ละตัว หรือ PCD (pitch circle diameter) ควรเป็นเท่าใดPCD ก็คือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่เรามองไม่เห็น เกิดขึ้นจากการวาดวงกลมโดยผ่านจุดศูนย์กลางของดุมล้อ? (ดังสีแดง) หากรถคุณมีจำนวนดุมล้อถูกแต่เว้นระยะห่างผิดจะทำให้ล้อไม่พอดี
สัญลักษณ์ของ PCD
รูปแบบการวางดุมล้อและค่า PCD จอะอยู่ที่ 5×114.42 หมายความว่า ดุมล้อจำนวน 5 ดุม จะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 114.42 มม.
ขนาดจุกล้อ
ขนาดจุกล้อมี 2 แบบ ได้แก่ hub-centric และ lug-centric
การออกแบบแบบ hub-centricเป็นล้อที่ใส่จุกล้อก่อนที่จะขันปลอกหรือหัวให้แน่น ในการออกแบบนี้จุกจะยื่นออกมาจากเพลาซึ่งสามารถใช้เป็นการตั้งศูนย์ล้อได้ สำหรับล้ออัลลอยด์ตามร้านต่างๆ? รูของจุกล้อมักใหญ่กว่าของเดิมที่ติดมากับล้อจึงทำให้คุณจำเป็นต้องนำรถไปตั้งศูนย์ หรือใส่ hub-centric ring ซึ่งทำด้วยพลาสติกโลหะทรงกลมที่สามารถเข้าเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของจุกล้อได้ เพื่อให้มั่นใจว่าติดอยู่กับศูนย์กลางล้อแน่นอน
การออกแบบแบบ lug-centric เป็นการวางศูนย์กลางให้ล้อขณะที่อยู่ระหว่างการขันดุมล้อให้แน่นเพราะจุกจะไม่ยื่นออกมา
ค่าระยะห่างระหว่างเส้นแบ่งครึ่งล้อ ตามแนวขวางกับหน้าแปลนของล้อ
ค่าระยะห่างระหว่างเส้นแบ่งครึ่งล้อ ตามแนวขวางกับหน้าแปลนของล้อ มีหน่วยเป็น มิลลิเมตร เป็นการกำหนดว่าระบบการสั่นสะเทือนและตั้งศูนย์อย่างไร ปัญหาคือว่าหากทำผิดพลาดพวงมาลัยจะหนักและไม่สามารถบังคับรถให้เลี้ยวได้ หรืออาจเบาเกินไปซึ่งต้องใช้พื้นที่ในการเลี้ยว ปัญหาที่เกิดจากการละเลยการวัดค่าดังกล่าว คือ ระยะหรือตำแหน่งของล้อว่าจะยื่นออกหรือหุบเข้าในตัวรถ หรือระบบกันสะเทือน อาจเกิดการกระตุกเพราะการตั้งค่าผิดเพี้ยน โดยเฉพาะชนิดของล้อ ค่าดังกล่าวจะถูกประทับตราบนส่วนใดส่วนหนึ่งของล้อว่า ET figure
positive offset = inset และ Negative offset = outset ปกติแล้วโรงงานผลิตจะตั้งค่ามาตรฐานโรงงาน มาที่ 5-7 มม. โดยหากล้อเดิมมีค่า offset 42 มม. คุณสามารถหาของใหม่มาใส่ได้โดยมีค่า offset ที่ 40 มม. โดยที่ค่าความต่าง 2 มม. นั้นสามารถยอมรับได้
ยิ่งค่าinset มากแสดงว่าใกล้ระบบกันสะเทือนมากใช่หรือไม่?
เมื่อคุณเพิ่มค่า inset ของล้อ จะทำให้ลดระยะห่างระหว่างขอบด้านในของล้อและองค์ประกอบของระบบกันสะเทือนจากตัวอย่าง จะเห็นว่าล้อสีแดงมีค่า inset มากกว่า คือ ระยะห่างของการติดตั้งล้อ centreline มากกว่าล้อสีเขียว ส่วนบล๊อกสีเทาบอกถึงการตั้งดุมล้อ เพลา และอุปกรณ์ระบบกันสะเทือน จะพบว่าการเพิ่มค่าinset? (positive offset) ของล้อ จะผลักขอบด้านในของล้อเข้าไปและย่งจะใกล้กับระบบกันสะเทือน ตรงกันข้าม หากค่า insetลดลงยางจะออกด้านนอกมากขึ้น อาจทำให้เกิดการเสียดสีกับโครงล้อได้ ข้อมูลการตั้งค่าดังกล่าวอาจช่วยให้คุณคำนึงค่า offset โดยรวมมากกว่าที่จะคิดถึงค่า inst และ outsetเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หากค่า offset เป็น positive เกินไป ล้ออาจจะผลุบเข้ามากเกิน และหากเป็น negative ล้อก็อาจจะยื่นออกมาด้านนอกมากไปได้เช่นกัน?
ตัวอย่างจริง
ภาพหนึ่งภาพแทนคำพูดนับพัน ลองดูภาพนี้ครับ ล้ออัลลอยด์ของรถเก่าของผม ด้านบนมีข้อมูลว่า “6J x 14 H2 ET45” แปลได้ว่า “6J x 14” เป็นวงล้อลึกขนาด 6 นิ้ว มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 นิ้ว ตัว J หมายถึงรูปร่างของยางแบบ tyre bead? (ลองอ่านคำจำกัดความของคำว่าล้อลึก และ rim contour ได้จากด้านล่าง)
ส่วน H2 คือ การออกแบบวงล้อเป็นแบบ double hump (อ่าน? hump profiles ที่ด้านล่าง) และ ET45 คือ มีค่า positive offset ที่ 45 มม. หรืออีกนัยหนึ่ง มีค่า inset ที่ 45 มม. ส่วนใหญ่แล้วจะมีการปั๊มข้อมูลเหล่านี้บนวงล้อเพื่อให้อ่านได้ง่าย ส่วนร้านแต่งบางร้านจะปั๊มข้อมูลที่ด้านใน
เพิ่มเติม? ET ย่อมาจากคำภาษาเยอรมันคือ Einpresstiefe คือค่า rim offset (หรือ “inset”)
การคำนวณค่า offset
คลิกเลือกข้อมูลด้านล่างจะช่วยคุณคำนวณค่าoffset ได้ คุณจะทราบถึงความแตกต่างระหว่างล้อเก่าและล้อใหม่และค่า offset ที่จะส่งผลต่อรถโดยรวม ผมเลือกที่จะใช้ Tyre Section แทนความกว้างของล้อเพราะส่วนใหญ่ยางที่ขยายเกินขอบล้อจะเป็นส่วนที่กว้างที่สุดของล้อและลาย
ดังนั้นในขณะที่คำนวณ ล้อที่ยังไม่ใส่ยางจะคำนวณได้ง่าย แต่ถ้าล้อที่ใส่ยางแล้ว ต้องถอดมาวัดด้านนอกจะถูกต้องแม่นยำกว่า และต้องรู้ขนาดความกว้างของล้อที่ระบุไว้ชัดเจน
ความพอดีของล้อและยาง
ขนาดล้อ
ขนาดล้อจะมีสัญลักษณ์ WWWxDDD เช่น 7×14 หมายถึงขนาดความกว้างขอบกระทะล้อมีขนาด 7 นิ้ว และเส้นผ่าศูนย์กลางกระทะล้อ 14 นิ้ว? โดยปกติแล้วความกว้างน้อยกว่ายางจึงจะดี ดังนั้น ยาง 185 มม. จะเข้ากับยางที่มีความกว้าง 6 นิ้ว (185 มม. อาจเข้ากับ 7 นิ้วก็ได้แต่ขอบในยางนอก อาจชิดกับ ขอบเกินไป)
รัศมีของยางเมื่อรับนํ้าหนัก (Static loaded radius) , เส้นผ่านศูนย์กลางด้านนอก(outer diameter) และเส้นรอบวงยางขณะวิ่ง (rolling circumference)
ทั้งสามสิ่งด้านบนนับว่าสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเชื่อมถึงกัน ยางที่ตรงจากผู้ผลิต ยางจะเป็นวงกลมและเส้นผ่านศูนย์กลางด้านนอก (OD) จะขึ้นอยู่กับสภาพรถเปล่า หากรถไม่ได้บรรทุกอะไรจะเป็นวงกลมมาก เพราะยางอ่อนที่บรรทุกของหนัก (ยางด้านล่างที่รับน้ำหนักจะแบนราบกว่าด้านบน) รัศมีในแนวตั้งของยางที่บรรทุกของจะไม่ได้เป็นครึ่งหนึ่งของเส้นผ่าศูนย์กลาง โดยปกติจะประมาณ44% (จากศูนย์กลางของล้อกับถนน) นอกจากนี้ ยางไม่ได้ม้วนเหมือนล้อหรือสายพานรถที่ม้วนไปในแนวพื้นดินเหมือนรถเกรดหรือสายพานรถตีนตะขาบ ด้วยเหตุนี้ เส้นรอบวงยางขณะวิ่งจึงไม่ได้มากตามที่คิด การประมาณการที่ใกล้เคียงที่สุดสำหรับค่าดังกล่าว สามารถคำนวณได้โดยการคำนวณเส้นผ่าศูนย์กลางด้านนอก ลบด้วยความลึกของดอกยางสองครั้งและคูณด้วย PI เช่น? 0.96 x OD x PI
หากเส้นรอบวงยางขณะวิ่งเปลี่ยนแปลงเนื่องมาจากความไม่เหมาสมของยางกับล้อใหม่ ความเร็วจะลดลงสิ้นเปลืองพลังงาน สุดท้ายโรงงานผลิตจะผลิตชุดเครื่องยนต์และเกียร์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับเส้นรอบวงยางขณะวิ่ง
J, JJ, K, JK, B, P และ? D : ขอบในยางนอก ?/การกำหนด rim contour
ตัวอักษรที่มีลักษณะเฉพาะนี้จะอยู่ระหว่างเส้นผ่านศูนย์กลางกระทะล้อและความกว้างของกระทะล้อซึ่งจะพิมพ์ไว้บนยาง และจะเป็นการบอกถึงรูปร่างของยางที่ขอบในยางนอกที่เหมาะสม ดูได้จากภาพด้านซ้ายมือสีแดง เหมือนกับบทความก่อนๆ ที่ตัวอักษรจะแทนค่ารายละเอียดที่มีความยาวและซับซ้อน จึงใช้ตัวอักษรมาแทนค่า เช่น J ที่พบได้มากที่สุดในรถขับเคลื่อนสี่ล้อจะเป็น JJ? รถจากัวร์ (โดยเฉพาะรุ่นเก่า) จะมีตัว K และในรถ VW รุ่นเก่าจะมีตัว P และ B อย่างไรก็ดีผมกระอักกระอ่วนที่พูดถึงหัวข้อนี้เพราะข้อมูลไม่ค่อยชัดเจน จะกระจ่างก็คงต้องศึกษาคู่มือของ European Tyre and Rim Technical Organisation? ซึ่งผมว่าค่อนข้างหนักหนาเอาการสำหรับความหนา 64 หน้า มีทั้งเรื่องขอบในยางนอก และ กระทะล้อ ฯ แค่อ่านคู่มือก็พาง่วงแล้วครับ มีการแบ่งประเภทของกระทะล้อไว้หลายแบบ แถมด้วยโค้ดเยอะแยะมากมายเช่น J สำหรับrim contour? และมิติของrim contour? ที่เรียกว่า code 10-26 5 deg หรือ Drop-Centre Rims ผมได้ทำไดอะแกรมด้านล่างมาเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นครับ
จากภาพจะเห็นว่า J และ B ต่างกันที่ ปีกกระทะล้อ นี่เป็นส่วนหนึ่งของไดอะแกรมที่แบ่งโดยเส้นผ่านศูนย์กลาง R และ พารามิเตอร์ B และ Pmin?แต่สำหรับผม ขอนิยามว่าก็คือ ขอบในยางนอก
ข้อสังเกต ? ความแตกต่างของ J และ B? ต่างกันนิดหน่อยแต่ก็ไม่เล็กน้อย บริเวณของ rim-to-tyre interfaceมีความสำคัญ การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยของยางทำให้เกิดความแตกต่างมากในการติดตั้งและแรงกดของขอบใน
การกำหนด contour? A และ D ภายใต้ประเภท รถจักรยาน รถมอเตอร์ไซค์ และสกู๊ตเตอร์ และในอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อการอุตสาหกรรมและรถยกตัวอักษรยังเป็นการบอกถึงประเภทของยางได้อีกด้วย โดยทั่วไปแล้ว รูปทรงเรขาคณิตที่แตกต่างอย่างสมบูรณ์เป็นการกำหนดในตำแหน่งเดียวกันในสองประเภทที่ต่างกัน
“S”, “T”, “V” และ “W” เป็นการกำหนดcontour ภายใต้ “ยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์?? ประเภทFlat Base Rims ส่วน “E”, “F”, “G” และ “H” เป็นการกำหนดcontour ภายใต้ “ยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์ ประเภทSemi-Drop Centre Rims เริ่มสับสนหรือยังครับ
คุณผู้อ่านที่รักทุกท่านครับ ผมว่าทางที่ดี คร่าวๆ ก็ได้ครับ หากบนยางพิมพ์ว่า 5J15 แต่คุณซื้อ 5K15 ไม่มีทางที่มันจะพอดีกันได้ครับ
H, H2, FH, CH, EH และ EH2 : Hump profiles
มีข้อมูลอีกประเภทหนึ่งนอกเหนือจากที่กล่าวมา? นั่นคือยาง Hump เพื่อป้องกันไม่ให้ยางจากขอบเลื่อนออกในกระแทกหรือขูดสีกับขอบขณะที่ยานพาหนะที่มีการเคลื่อนที่ เช่นเดียวกับรูปทรงของขอบในยางนอกที่มีการกำหนดที่แตกต่างกันข การออกแบบและการกำหนดค่าของยาง hump จะขึ้นอยู่กับจำนวนและรูปร่างของ humpสำหรับผู้อ่านที่รักการเรียนรู้ ผมขอเสนอตารางของการกำหนดยาง hump และแผนที่กล่าวไว้ข้างต้นซึ่งจะแสดงรายละเอียด ดังนี้
Designation | Bead Seat Contour | Marking | |
Outside | Inside | ||
Hump | Hump | Normal | H |
Double Hump | Hump | Hump | H2 |
Flat Hump | Flat Hump | Normal | FH |
Double Flat Hump | Flat Hump | Flat Hump | FH2 |
Combination Hump | Flat Hump | Hump | CH |
Extended Hump | Extended Hump | Extended Hump | EH2 |
Extended Hump 2+ | Extended Hump 2+ | Extended Hump 2+ | EH2 + |
หากคุณเมามันส์กับการเรียนรู้และต้องรู้ให้ครบทุกสิ่งลองอ่านข้อมูลต่างๆ ที่กล่าวมาได้ที่? ETRTO (European Tyre and Rim Technical Organisation ข้อมูลที่เหลือผมจะพูดในหัวข้อถัดไป
credit carbibles