นอกเหนือจากยางรถและเบาะแล้ว?ระบบกันสะเทือน?นับเป็นกลไกหลักอย่างหนึ่งที่แยกถนและความนิ่มนวลขณะนั่งภายในรถออกจากกัน ระบบกันสะเทือนของรถจะเป็นตัวช่วยปกป้องการสั่นสะเทือน ไม่ว่าคุณจะคิดว่าถนนสายนั้นเรียบเท่าใด แต่รถก็ยังสั่นสะเทือนอยู่ดี เพราะรถก็คือเหล็กหนักหลายตันที่วิ่งอยู่บนถนนด้วยความเร็ว ดังนั้น ทุกอย่างจึงขึ้นอยู่กับระบบกันสะเทือน คนที่ใช้บริการรถใต้ดินต่างก็คาดหวังว่าจะได้นั่งบนรถไฟนิ่มๆ แต่ความจริงกลับไม่ใช่เช่นนั้น ทำไมพวกเขาจึงรู้สึกว่ามันสั่นสะเทือนได้ขนาดนั้น คำตอบคือรถไฟไต้ดินไม่มีระบบกันสะเทือน ดังนั้น รถไฟจึงเหวี่ยงไปซ้ายทีขวาทีอย่างเบาๆ จึงทำให้ทั้งขบวนรถและผู้โดยสารรู้สึกว่ารถไม่นิ่มนวล ส่วนรถยนต์ ยางล้อยังพอช่วยซับแรงได้นิดหน่อย ระบบกันสะเทือนมีชิ้นส่วนหลักๆ อยู่ 2 ชิ้น ได้แก่
สปริง
จะมีสปริงอยู่ทั้ง 3 แบบ ได้แก่ คอยล์สปริง (coil springs) เฟืองบังคับเลี้ยว และแหนบแผ่น หนึ่งในสามนี้ คนจะรู้จักคุ้นเคยกับคอยล์สปริงมากกว่าเฟืองบังคับเลี้ยว ส่วนแหนบแผ่นจะพบได้ในรถสัญชาติอเมริกันปี 1985 ขึ้นไป และรถบรรทุกหนัก หน้าตาคล้ายแผ่นเหล็กเป็นชั้นๆ นำมาเชื่อมติดกันเพลาล้อ เหล็กชั้นเรียกว่าใบ หรือ แหนบ ..เฟืองบังคับเลี้ยวเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ดูประหลาดไปสักหน่อยแต่จะเป็นตัวรับแรงและออกแรงต้านแรงกดระบบบังคับเลี้ยว รถที่ใช้เช่น โฟล์ค Beetles, Karmann Ghias, พอร์ชหรือปอร์เช่ (รุ่น 356 และ 911 กระทั่งปี 1989 จนเปลี่ยนมาเป็นแบบสปริง) และระบบกันสะเทือนหลังของเปอร์โยต์ 205 และรถอื่นๆ แทนที่จะใช้คอยล์สปริง เพลาจะติดอยู่ที่ข้างใดข้างหนึ่งของเพลาเหล็ก ที่ปลายอีกข้างจะถูกเจาะเป็นช่องแคบๆ ยาวๆ เสียบด้วยสลัก เมื่อระบบสั่นสะเทือนมีการเคลื่นที่ มันจะไปส่งผลให้เพลาหลังหมุน พูดให้ง่ายขึ้นคือเป็นตัวทำหน้าที่ส่งถ่ายแรงบิดจากเฟืองไปขับเคลื่อนล้อรถให้ล้อรถหมุนเคลื่อนที่นั่นเอง และเปลี่ยนการเคลื่อนที่จากการเคลื่อนขึ้นลงเป็นการหมุนเป็นวงกลม หากกดบริเวณคอยล์ด้านบน จะเร่งให้เพลาเกิดการหมุนและม้วนลง หากไม่เห็นภาพคงเข้าใจยากสักหน่อยครับ แต่เชื่อเถิดว่ามันเป็นเช่นนั้นจริงๆ มีการอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเฟืองบังคับเลี้ยว และสปริงได้จากเว็บไซต์นี้
โช้คอัพ
โช้คอัพถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อหน่วงไม่ให้สปริงมีการเคลื่อนตัวได้เร็วนักเมื่อรถแล่นอยู่บนถนนขรุขระ จึงมีบางคนเรียกโช้คว่า ตัวซับแรง (damper) หากรถมีแต่สปริงจะกระด้างจนไม่สามารถควบคุมการขับขี่ได้ ความสั่นสะเทือนจะส่งแรงไปตามร่างกายทำให้ไม่สามารถใช้งานได้เวลานานๆ สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้เชียวครับ เวลาเดินทางคุณอาจรู้สึกเหมือนมีใครมายิงคุณจนพรุน และในที่สุดก็ระเบิดกระจุยครับ
ตัวซับแรงหรือ damper มีหน้าที่อยู่ 2 ข้อ คือ
1) อย่างที่กล่าวไว้ด้านบน มันจะช่วยซับแรงกระแทกจากพื้นถนน เป็นตัวช่วยหน่วงเวลาไม่ให้สปริงมีการเคลื่นที่เร็วเกินไปและส่งผ่านไปยังแชสซี และ
2) ซับแรงกระแทกตลอดการระยะเวลาเดินทางตามสภาพถนน กล่าวคือ ช่วยให้ยางสัมผัสกับผิวถนนได้ดียิ่งขึ้น อีกนัยหนึ่ง การซับแรง มีศัพท์เทคนิคว่า อุปกรณ์ไฮโดรลิกที่ไวต่อการซับแรงความเร็ว (velocity-sensitive hydraulic damping devices) ซึ่งหมายถึง เคลื่อนที่ได้เร็วกว่า มีแรงเสียดทานมากกว่า จึงเรียกว่า การเคลื่อนที่ เป็นกระบวนการทำงานร่วมกับสปริง โดยจะเป็นตัวทำให้เกิดพลังงานและกระแทกกับถนน และเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์และกระจายออกไป รูวาวล์จะต้านแรงดันน้ำมันในเวลารับแรงกดและแรงยืดกลับ เวลาจังหวะโช้คดีดตัวขึ้น น้ำมันจากห้องบนจะต้องถูกดันให้หนีลงมาห้องล่าง แต่วาล์วที่กั้นห้องนั้น มีรูและซอกเล็กมากให้น้ำมันผ่านได้อย่างจำกัด ทำให้น้ำมันผ่านได้ช้าลงจึงเกิดการหน่วงไม่ให้ก้านสูบเลื่อนขึ้นเร็วเกินไป ในจังหวะโช้คกดตัวลงก็แบบเดียวกัน น้ำมันจากห้องล่างจะพยายามหนีขึ้นห้องบนเพราะถูฏดัน วาล์วก็เป็นตัวหน่วงอีกเช่นกัน
คอยล์รุ่นใหม่ A modern coil-over-oil unit
รูปนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะของcoil-over-oil unit รุ่นใหม่ โดยเป็นการรวมทั้งสปริงและโช้คซับแรงไว้ด้วยกัน รูปนี้อาจดูเหมือนไม่ใช่ของจริง เพราะของจริงมีการปรับปรุงเพื่อติดตั้งในรถทั่วไปแล้ว มีการปรับแผ่นสปริงเพื่อให้สามารถรับแรงและผ่อนแรงได้ในเวลาเดียวกัน ในขณะที่ วาวล์ซับแรงจะเป็นตัวซับแรงย้อนกลับของโช้ค ชิ้นส่วนที่สุดแสดฉลาดนี้ สามารถซับแรงอัดจากหม้อน้ำได้ด้วย ในรถจักรยานยนต์ที่มี preload หรือตัวปรับแรงแรงขับสปริงและลดการสะท้อนแรงกดย้อนกลับก็มีอุปกรณ์นี้เช่นกัน อ่านเพิ่มเติมอุปกรณ์ทั้งภายในและภายนอกที่สลับซับซ้อนได้จากหมวดหมู่ที่แล้วนะครับ
อยากทราบเรื่อง?ประเภทของระบบกันสะเทือนรถยนต์ กดได้ที่นี่